วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

ซอฟต์แวร์ (Soft ware)


หน่วยที่ 4
ซอฟต์แวร์ (Software)

1. ความหมายของซอฟต์แวร์
                การที่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเกิดจากคำสั่งหรือชุดคำสั่งหรือที่เรียกว่าโปรแกรมที่เขียนโดยนักเขียนโปรแกรม (programmer) คำสั่งมีลักษณะเป็นซอฟท์แวร์สามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูล แปลความหมาย และทำการประมวลผล  แล้วส่งผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นสารสนเทศตามที่เราต้องการ ดังนั้นซอฟท์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญและจำเป็นสำหรับการทำงานของคอมพิวเตอร์  มีนักวิชาการให้ความหมายหรือกล่าวถึงซอฟท์แวร์ไว้หลายแง่มุม ดังนี้
                ซอฟท์แวร์   เป็นส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรงเพราะซอฟท์แวร์มีคุณลักษณะเป็นนามธรรมโดยทั่วไปเรียกว่าโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เรา ก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท


2. ประเภทของซอฟต์แวร์
ในบรรดาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีมากมาย ซอฟต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตจำหน่าย หากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน โดยทั่วไปแล้วซอฟต์แวร์แบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) โดยมีรายละเอียดของซอฟต์แวร์แต่ละประเภทดังนี้

2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟท์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ
ซอฟท์แวร์ระบบจึงทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์และโปรแกรมประยุกต์  ใช้ในการควบคุมดูแลการทำงานทั้งหมดของระบบคอมพิวเตอร์  ขณะที่เรากำลังใช้โปรแกรมประยุกต์อยู่ซอฟต์แวร์ระบบจะควบคุมการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งซอฟท์แวร์ระบบมีลักษณะแตกต่างกันดังนี้
2.1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating Software หรือ OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมกิจกรรม
ทั้งหมดของคอมพิวเตอร์  เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ที่เป็นฮาร์ดแวร์ทุกส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ  ซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลและทำแฟ้มข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์  เช่น  การสำเนาข้อมูล (copy)  การเรียงลำดับ (sort)  การลบ (delete) และอื่น ๆ นอกจากนั้นยังใช้ในการดำเนินงานของโปรแกรมประยุกต์ด้วย  โปรแกรมที่พัฒนาจากระบบปฏิบัติการที่ต่างกันจะนำมาใช้ร่วมกันไม่ได้



                                               
ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้มากที่สุดในขณะนี้ คือ
1)   ระบบปฏิบัติการดอส(DOS) เป็นระบบปฏิบัติการที่รับคำสั่งจากผู้ใช้งานเป็น
ข้อความ (text mode) DOS มาจากคำว่า  Disk  Operating System อาจเป็น พีซีดอส (PC-DOS)  หรือ เอ็มเอส-ดอส (MS-DOS) ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ก็ได้  ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมแล้ว
                                                  2) ระบบปฏิบัติการแบบวินโดวส์ พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เป็นระบบปฏิบัติการทำงานที่ทำงานด้วยคำสั่งกราฟิกชนจอภาพโดยใช้เมาส์ในการควบคุมคำสั่งให้โปแกรมทำงานผ่านภาพ กราฟิกที่เป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่เรียกว่า  สัญรูป หรือ ไอคอน (icon)  เราเรียกว่าการทำงานแบบการประสานกับผู้ใช้ในลักษณะของกราฟิก GUI (graphical user interface) อ่านออกเสียงว่า “กุย” ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายกว่าระบบปฏิบัติการแบบดอส  ระบบปฏิบัติการโดวส์ที่ได้พัฒนามามีใช้หลายแบบ เช่น วินโดวส์ 3.1 , วินโดวส์ 95, วินโดวส์ 2000, วินโดวส์มี (Windows me), วินโดวส์ เอ็นที (Windows NT)และวินโดวส์เอ็กซ์พี (Windows XP) เป็นต้น